มะรุม ประโยชน์ สรรพคุณจากงานวิจัย
ชื่อสมุนไพร มะรุม
ชื่ออื่น ๆ / ชื่อประจำถิ่น ผักอีฮุม (อีสาน) มะค้อนก้อม (ภาคเหนือ) กาแน้งเดิง (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) ผักเนื้อไก่ (ชาวฉานแถบแม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ Horse Radish Tree , Drumstick
ชื่อวิทยาศาสตร์ Moringaoleifera Lam
วงศ์ Moringaceae
ถิ่นกำเนิดมะรุม
ต้นมะรุมมีปลูกอยู่ทั่วโลก โดยมนุษย์รู้จักพืชชนิดนี้มากกว่า 4000 ปี แล้ว ในต่างประเทศทำการวิจัย และสกัดเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อบำรุงร่างกายมาหลายปีแล้ว ตนได้รับความนิยมอย่างสูง ทั้งในยุโรป และอเมริกา เชื่อว่ามีคุณสมบัติช่วยบำบัดโรคได้กว่า 300 ชนิด โดยเฉพาะโรคที่สำคัญ ๆ ของมนุษย์ เช่น มะเร็ง ,ขาดสารอาหาร และเอดส์ เป็นต้น โดยมีสายพันธุ์อยู่ทั้งหมด 13 สายพันธุ์ มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชีย อินเดียแถบเทือกเขาหิมาลัย แต่ก็พบได้ทั่วไปในแอฟริการและเขตร้อนของทวีปอเมริกาสำหรับต้นมะรุมที่ปลูกทั่วไปในประเทศไทย เรียกว่า พันธุ์ข้าวเหนียว เป็นสารพันธุ์เดียวกับต่างประเทศที่เรียกว่า MoringaOleiferaและอีกสายพันธุ์ที่เรียกว่าสายพันธุ์กระดูก (MoringaStenopatala)
สรรพคุณมะรุม
o ใบมะรุม สรรพคุณ บำบัดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊าส์ โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม โรคลำไส้อักเสบ ท้องเสีย ท้องผูก โรคพยาธิในลำไส้ โรคทางเดินของลมหายใจ โรคปอดอักเสบ รักษาโรคตา
o ดอกมะรุม สรรพคุณใช้แก้ไข้หัวลม เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา
o ฝักมะรุม สรรพคุณ แก้ไข้ ป้องกัน มะเร็ง ลดความดันโลหิต
o เมล็ดมะรุม สรรพคุณ ใช้แก้ไอ และสารต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย
o น้ำมันมะรุม ใช้ปรุงอาหารได้ดีกว่าน้ำมันมะกอก เพราะไม่เหม็นหืนในภายหลัง ช่วยบำรุงรักษาผิวที่แห้งใช้ชุ่มชื่นชะลอความเหี่ยวย่นของผิว ช่วยรักษาแผลสด ถูกมีดบาด หรือแผลสดเล็กๆ น้อยๆ ลดอาการผื่นผ้าอ้อมในเด็ก ลดอาการปวดบวมของโรคไขข้ออักเสบ เก๊าส์ รักษาแผลใบปาก ใช้นวดกระชับกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ช่วยบรรเทาอาการเกิดสิว ช่วยลดจุดด่างดำหลังจากโดนแดด หรือการเสื่อมตามวับ ใช้นวดศีรษะ รักษาราผิวหนัง บรรเทาอาการผมร่วง คันศีรษะ
o เปลือกลำต้นมะรุม สรรพคุณแก้โรคปวดหลังหรือปวดขา
o รากมะรุม สรรพคุณแก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหัวใจ รักษาโรคไขข้อ
ประโยชน์ของมะรุม
• มะรุมใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิดถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอดได้เป็นอย่างดี
• ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้
• รักษาโรคความดันโลหิตสูง
• ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์ เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อ HIV นอกจากนี้ถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้งยังช่วยให้คนทั่วๆ ไปสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง
• ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ การรักษาโรคเอดส์ที่ประสพผลสำเร็จในกลุ่มประเทศแอฟริกา
• ถ้ารับประทานมะรุมสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง แต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบัน หากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง
• ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊าท์ โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม
• รักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดมัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ เป็นต้น หากรับประทานสม่ำเสมอ จะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์
• รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง ท้องเสีย ท้องผูก โรคพยาธิในลำไส้
• รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคป่อดอักเสบ
• เป็นยาปฎิชีวนะ
• น้ำมันมะรุม ใช้หยอดจมูกรักษาโรคภูมิแพ้ ไซนัสโรคทางเดินหายใจ ใช้หยอดหูฆ่าและป้องกันพยาธิในหู รักษาอาการเยื่อบุหูอักเสบ รักษาโรคหูน้ำหนวก ใช้ทารักษาแผลสด หูด ตาปลา ใช้ถูนวดบรรเทาอาการบริเวณที่ปวดบวมตามข้อ รักษาโรคไขข้ออักเสบ เก๊าท์ รูมาติก เป็นต้น
• ชะลอความแก่ กล่าวกันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่ เนื่องจากยังไม่พบรายงานการวิจัยเกี่ยวกับมะรุมในด้านนี้คาดว่าเป็นการสรุปเนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ รูทินและเควอเซทิน (rutinและ quercetin) สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก(lutein และ caffeoylquinic acids)ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆ ได้แก้ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ การกินสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพในเซลล์ร่างกาย
• ฆ่าจะลินทรีย์ สารเบนซิลไทโอไซยาเนตโคไซด์และเบนซิลกลูโคซิโนแลตค้นพบในปี พ.ศ.2507 จากมะรุมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ สนับสนุนการใช้น้ำคั้นจากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหู ปัจจุบันหลังจากค้นพลแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร Helicobactor pylori กำลังมีการศึกษาสารจากมะรุมในการต้านเชื้อดังกล่าว
• การป้องกันมะเร็ง สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน (niazimicin) จากมะรุมสามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้การทดลองในหนูพบว่าหนูที่ได้รับฝักมะรุมเป็นอาการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจาการกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มทดลอง โดยกลุ่มที่กินมะรุมเนื้องอกบนผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มควบคุม
รูปแบบและขนาดวิธีใช้มะรุม
ตำราพื้นบ้านใช้ใบมะรุมใช้พองแผลช่วยห้ามเลือด ยอดอ่อนลวกรับประทานเป็นอาหาร ดอกตากแห้งชงเป็นชาหรือต้มรับประทานน้ำเป็นยา ฝัก ใช้ประกอบอาหารรับประทาน เมล็ดใช้สกัดทำเป็นน้ำมันมะรุม เปลือกลำต้นและรากใช้ต้มกรองกากเพื่อรับประทานน้ำเป็นยา